เมนู

ด้วยความเพียรนั้น ท่านเรียกว่า ทัฬหนิกมะ เพราะมีความเพียรเครื่อง
ก้าวออกอันมั่น.
บทว่า ถามพลูปปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกำลังแรงกายและ
กำลังญาณในขณะมรรค. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยพละกำลังอัน
เป็นเรี่ยวแรง ท่านอธิบายว่า เป็นผู้ประกอบด้วยกำลังญาณอันมั่นคง.
ด้วยบทว่า ถามพลูปปนฺโน นี้ ท่านแสดงถึงความประกอบพร้อม
ด้วยวิปัสสนาญาณแห่งความเพียรนั้น จึงทำปธานคือความเพียรเครื่อง
ประกอบให้สำเร็จ. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบบาททั้ง 3 ด้วยความเพียร
อันเป็นชั้นต้น ชั้นกลางและชั้นสูง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
จบพรรณนาอารัทธวีริยคาถา

พรรณนาปฏิสัลลานคาถา


คาถาว่า ปฏิสลฺลานํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
การเกิดขึ้นแห่งคาถานี้ เหมือนดังอาวรณคาถาไม่มีความพิเศษไร ๆ.
ส่วนพรรณนาอรรถแห่งคาถานี้มีความว่า การกลับเฉพาะจากหมู่สัตว์และ
สังขารนั้น ๆ หลีกเร้นอยู่ ชื่อว่า ปฏิสัลลานะ ได้แก่ ความเป็นผู้มีปกติ
เสพ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง คือความเป็นผู้เดียว ได้แก่ กายวิเวก สงัดกาย.
จิตตวิเวก สงัดจิต ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึกและ
เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์และลักษณะ.
ในคำว่า ฌาน นั้น สมาบัติ 8 เรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึก

มีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์มีกสิณเป็นต้น. วิปัสสนา
มรรค ผล ก็ เรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึกมีสัตตสัญญาความสำคัญ
ว่าสัตว์เป็นต้น และเพราะเข้าไปเพ่งลักษณะ. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์
เอาอารัมมณูปนิชฌานการเข้าไปเพ่งอารมณ์เท่านั้น. ไม่ละ คือไม่ทิ้ง ได้แก่
ไม่สละ การหลีกเร้นและฌานนั้น ด้วยอาการอย่างนั้น. บทว่า ธมฺเมสุ
ได้แก่ ในธรรมคือเบญจขันธ์เป็นต้นอันเข้าถึงวิปัสสนา. บทว่า นิจฺจํ
แปลว่า ติดต่อ คือไปเสมอ ๆ ได้แก่ ไม่เกลื่อนกล่นแล้ว.
บทว่า อนุธมฺมจารี ได้แก่ ประพฤติวิปัสสนาธรรมอันไปแล้ว
เนือง ๆ โดยปรารภธรรมนั้น ๆ เป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ธมฺเมสุ
นี้ โลกุตรธรรม 9 ชื่อว่า ธรรม. ชื่อว่า อนุธรรม เพราะธรรมอัน
อนุโลมแก่ธรรมเหล่านั้น. คำว่า อนุธรรม นี้ เป็นชื่อของวิปัสสนา.
ในคาถานั้น ควรจะกล่าวว่า ธมฺมานํ นิจฺจํ อนุธมฺมจารี มีปกติ
ประพฤติธรรมอนุโลมแก่ธรรมเป็นนิจ แต่เพื่อสะดวกในการประพันธ์
คาถา จึงเป็นอันกล่าวว่า ธมฺเมสุ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิภัตติ.
ในบทว่า อาทีนวํ สมฺมสิตา ภเวสุ นี้ พึงทราบวาจาประกอบ
ความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นโทษมีอาการไม่เที่ยงเป็นต้นในภพทั้ง 3 ด้วย
วิปัสสนากล่าวคือความเป็นผู้มีปกติประพฤติอันเป็นอนุโลมนั้น พึงกล่าว
ว่า เป็นผู้บรรลุด้วยปฏิปทา คือวิปัสสนาอันถึงยอดแห่งกายวิเวกและ
จิตตวิเวกนี้ด้วยอาการอย่างนี้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป.
จบพรรณนาปฏิสัลลานคาถา

พรรณนาตัณหักขยคาถา


คาถาว่า ตณฺหกฺขยํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่งกระทำประทักษิณพระนคร
ด้วยราชานุภาพอันใหญ่ยิ่ง. คนทั้งหลายผู้มีหทัยรำพึงถึงความงามแห่ง
พระสรีระของพระราชานั้น แม้ไปข้างหน้า ก็ยังกลับมาแหงนดูพระองค์
แม้ไปข้างหลังก็ดี ไปทางข้างทั้งสองก็ดี ก็ยังหันกลับมาแหงนดูพระองค์.
ก็ตามปกติทีเดียวชาวโลกไม่อิ่มในการดูพระพุทธเจ้า และในการดู
พระจันทร์เพ็ญ มหาสมุทรและพระราชา.
ครั้งนั้น ฝ่ายภรรยาของกุฎุมพีนางหนึ่ง อยู่ในปราสาทชั้นบนได้เปิด
หน้าต่างยืนแลดูอยู่. พระราชาทรงเห็นนางนั้น มีพระทัยปฏิพัทธ์รักใคร่
จึงสั่งอำมาตย์ว่า แน่ะพนาย เธอจงรู้ว่า หญิงนี้มีสามีหรือไม่มีสามีเท่านั้น.
อำมาตย์นั้นรู้แล้ว จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ หญิงนี้มีสามีพระเจ้าข้า.
ที่นั้น พระราชาจึงทรงดำริว่า หญิงฟ้อนรำสองหมื่นนางเหล่านี้
เปรียบปานดังนางเทพอัปสร ยังเราคนเดียวเท่านั้นให้อภิรมย์ บัดนี้ เรา
นั้นไม่ยินดีหญิงแม้เหล่านี้ มาทำตัณหาให้เกิดขึ้นในหญิงของชายอื่น
ตัณหานั้นเกิดขึ้นแล้ว ย่อมคร่าไปสู่อบายถ่ายเดียว ดังนี้ ทรงเห็นโทษ
ของตัณหาแล้ว ทรงดำริว่า จักข่มตัณหานั้น จึงละทิ้งราชสมบัติผนวช
ทรงเห็นแจ้งอยู่ จึงได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัส
อุทานคาถานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺหกฺขยํ ได้แก่ พระนิพพาน อีก
อย่างหนึ่ง ได้แก่ความไม่เป็นไปแห่งตัณหาซึ่งมีโทษอันเห็นแล้วอย่างนั้น.
บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ มีปกติกระทำโดยติดต่อ คือมีปกติ
กระทำโดยเคารพ.